วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Java)

          ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ทำให้เราสามารถโปรแกรมการทำงานต่างๆ สั่งให้คอมพิวเตอร์ โดยผมจะมาอธิบาย 1 ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่หลายๆคนน่าจะรู้จักกันอย่าง Java
          ภาษาจาวา (อังกฤษ: Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษ: Object Oriented Programming) พัฒนาโดยเจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี(Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
           และอาจจะมีหลายคนสับสนระหว่าง Java และ Java script เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกันในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันโดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพทอน (Python) ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน
           และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

           โดยจาวา (Java) จะมีข้อดีตรงที่มีความเรียบง่าย ความปลอดภัย รองรับการพัฒนาโปรแกรมบนหลากหลาย Platform และภาษาจาวา สามารถนำมาพัฒนา และติดตั้งได้ฟรีอีกด้วย แต่ว่า จาวาก็มีข้อเสียเหมือนกัน เช่น เป็นภาษาที่เรียนรู้ค่อนข้างยาก ถ้าเปรียบเทียบกับภาษาอื่น ๆ มีกฏเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวด และมีคำศัพท์ต่าง ๆ มากมาย

                                   

ที่มา
http://www.mindphp.com/
https://en.wikipedia.org/wiki/Java_(programming_language)


วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

               ปัจจุบันนี้ Social Network เป็นสิ่งที่เคียงข้างมากับทุกๆคน เพราะ Social Network เป็น 1 ในช่องทางที่จะทำให้เรา ติดต่อสื่อสารกับคนอื่น และสามารถที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วโลกได้อย่างรวด
 เร็ว ทำให้โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นสิ่งที่คนสนใจ มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก เพราะเหตุนี้ทำให้ คนส่วนมากใช้ 
(http://libeltyseo.com/wp-content/uploads/2013/03/social-networking.png)
 Social Network 
                
             ด้วยอุปกรณ์อย่าง Smartphone ทำให้ การเข้าไปในสังคมโซเชียล เป็นอย่างง่ายดาย
และสารามารถที่จะใช้ที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้
ทำให้ผมคิดว่า มันอาจจะทำให้เกิดปัญหากับกลุ่มนักเรียน ด้วยการที่คนอื่นสามารถที่จะแชร์ อะไรก็ได้ ทำให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม บวกกับความง่ายในการเข้าถึงเนื้อหา อาจจะให้เกิดความอยากลองได้และอีกปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นน่าจะเป็นเรื่องของการเสพติด Social Network
ใช้พูดคุย ติดต่อมากเกินไป จนไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น  ทำให้ผลการเรียนตกหรือเสียการเรียน 
ไป และยังไม่ได้พูดคุยกับคนรอบข้าง ก้มหน้ากดมือถืออย่างเดียว

             สำหรับด้านสังคมโซเชียล เน็ตเวิร์ค ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น ใช้เป็นที่โฆษณาสินค้า ติดต่อด้านธุรกิจทำให้เกิรายได้ และเป็นที่ๆเอาไว้แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ับคนอื่น  แต่ในทางกลับกัน ด้วยความกว้างขวางของโซเชียล เน็ตเวิร์ค อาจจะทำให้ขู้อมูลส่วนตัวหลุดออกไปจากการพูดคุยกับคนอื่น สิ่งที่คนอื่นแชร์มาให้ มีทั้งที่ดีและไม่ดี และถ้าหากเรามีอะไรที่เป็นความลับส่วนตัวแต่หลุดออกไป จะเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข โดยรวมๆแล้ว Social Network เป็นช่องทางการสื่อสารที่มีประโยช์และโทษอยู่ด้วย มันขึ้นกับผูใช้แล้วล่ะ ว่าจะใช้มันไปในทางไหน

(http://www.greenbookblog.org/wp-content/uploads/2012/11/social-image2.jpg)
                                             

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK 2 : เรื่องที่นักเรียนสนใจ

AKIHABARA ศูนย์กลางเหล่าโอตาคุ

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ef/Akiba_denkigai.jpg)

ย่านอากิฮาบาระ (秋葉原, Akihabara) หรือนิยมเรียกว่า “อกิบะ (Akiba)” เป็นย่านการค้าที่อยู่ใจกลางโตเกียว โดยได้รับขนานนามว่า "เมืองอิเล็กทรอนิกส์อะกิฮะบะระ" เพราะเต็มไปด้วยร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และยังเป็นสวรรค์ของเหล่าโอตาคุด้วย คนที่ชื่นชอบในอนิเมไม่ควรพลาด หากได้ไปญี่ปุ่น

5 นาทีจากสถานีรถไฟโตเกียว สู่ถนนโอตาคุ
Akihabara Goto
(https://a2.muscache.com/locations/uploads/photo/image/32340/0_4798_270_3352_one_Akihabara_Goto_002.jpg)

ในปี 1869 ไฟไหม้ครั้งใหญ่ได้เผาทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ ในแถบ Kanda และ Ueno ทำให้ทีมีแผนที่จะเคลียร์พื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อใช้สำหรับป้องกันไม่ให้ไฟสามารถรุกรามเข้ามาถึง ปราสาท Edo ได้

ต่อมาในปี 1870 ก็ได้มีการสร้างศาลเจ้าชื่อว่า Chinka-sha (鎮火社) ให้เป็นที่ประทับของเทพ “Hibuse” เทพคุ้มครองที่คอยดับไฟ ขึ้นเพื่อปกปักรักษาพื้นที่ใกล้กับปราสาท Edo แต่ชาวบ้านแถวนั้นกลับเข้าใจผิด คิดว่าเทพที่มาประทับอยู่ในศาลเจ้านั้นคือเทพ Akiha Daigongen จากศาลเจ้า Akiha ใน Shizuoka ซึ่งเป็นเทพเกี่ยวกับไฟเช่นกัน มาประทับอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ และด้วยสำเนียงการพูดของญี่ปุ่นที่คำว่า “Akiha” จะคล้ายๆ กับคำว่า “Akiba” ก็เลยกลายเป็นคำเรียกเทพที่ประทับ(จากความเข้าใจผิด)กันว่า “Akiba-sama” รวมถึงเริ่มมีการเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า “Akiba ga hara” (แปลได้ว่าพื้นที่ของเทพ Akiba) ด้วย

จนต่อมาในปี 1888 ได้มีการสร้างสายรถไฟจาก Ueno มาที่นี่ และตั้งชื่อตามศาลเจ้าว่า “Akihabara” และกลายเป็นชื่อทางการของพื้นที่ตรงนี้ แต่ถึงอย่างนั้นคนในพื้นที่ก็ยังมีการเรียกด้วยชื่อว่า “Akibahara” อยู่ด้วย โดยสถานี Akihabara เป็นแค่สถานีขนส่งสินค้า จนมาถึงในปี 1925 ก็ได้มีการเปิดรับผู้โดยสารทางรถไฟขึ้น โดยในปัจจุบันรถไฟตรงนี้ก็คือสาย Touhoku  และด้วยความที่ใช้เป็นแหล่งขนส่งสินค้าต่างๆ ทำให้ Akihabara กลายเป็นตลาดค้าผักและผลไม้

ต่อมาในปี 1945 หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ได้ทำให้เหล่าวิศวกรและช่างอิเล็กทรอนิกส์กลับมายังบ้านเกิดอีกครั้ง รวมถึงมีการเปิดโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นด้วย (ปัจจุบันคือ Tokyo Denki University) แล้วก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากตลาดค้าผักและผลไม้ ก็เริ่มมีการขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง หลอดศูนย์อากาศ, วิทยุ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษา 

ต่อมาในยุค 1960 Akihabara ก็ได้กลายเป็นแหล่งซื้อขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า และอื่นๆ อีกมากมาย โดยในตอนนั้น Akihabara เองก็มีคู่แข่ง คือย่าน Nipponbashi หรือ “Den Den Town” ในเมือง Osaka ในฝั่ง Kansai (Akihabara เป็นย่านที่อยู่ใน Tokyo อยู่ฝั่ง Kantou)

มาถึงยุค 1990 ตอนนี้ Akihabara เข้าสู่ยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เริ่มได้รับความนิยม ก็ได้เกิดร้านขายคอมพิวเตอร์ในย่านนี้ อย่างร้าน Sofmap ที่ได้เปิดขึ้นในปี 1991 และเริ่มขายคอมพิวเตอร์ ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ในช่วงเวลานี้เองที่วงการเกมและอนิเมะเริ่มเติบโต และก็เริ่มมีกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า Otaku ในย่าน Akihabara

มาถึงยุค 2000 ย่าน Akihabara แห่งนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นอย่างในปัจจุบันคือ ร้านขายคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง และถูกแทนที่ด้วยร้านค้าสายอนิเมะ มังงะหรือเกม 

Akihabara Goto
(https://a1.muscache.com/locations/uploads/photo/image/32345/0_4798_0_3600_one_Akihabara_Goto_036.jpg)

Akihabara Goto
(https://a1.muscache.com/locations/uploads/photo/image/32336/0_4799_0_3600_one_Akihabara_Goto_061.jpg)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK 1 : เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน



WEEK 1 : เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

            ปัจจุบันนี้ พูดได้เลยว่าเทคโนโลยีมีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามาก แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะเทคโนโลยี ถึงทำให้เราใช้ชีวิดได้สะดวก สบาย โดยเฉพาะกับผู้คนที่อยู่ในเมือง คนในเมืองต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วน ทุกวินาทีมีค่า เราก็มีเทคโนโลยีเหล่านี้นี่แหละ ที่ทำให้เราอยู่ได้ในชีวิตประจำวันแบบนี้ จะเห็นได้ว่าการใช้ชีวิตในแต่ละวันต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหาในเรื่องของระยะทาง

(http://storyboards.greghigh.com/PresentationGraphics.jpg)

ประโยชน์และโทษจากการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน

ประโยชน์ :  
1. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
2. ประหยัดเวลา
3. จัดการระบบต่างๆ
4. ช่วยในการติดต่อสื่อสาร

โทษ : 
1. การพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินไป 
2. ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดๆ
3. ขาดการติดต่อกับคนใกล้ชิด
4. ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
5. ทำให้ติดการใช้ social media

(https://lovehengheng88.files.wordpress.com/2015/01/computer.jpg)